สารเคอร์คิวมินเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาหลักที่พบในขมิ้นชัน ซึ่งได้รับการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมทั้งในระบบสมองด้วยเช่นกัน บทบาทที่มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพของระบบสมองและการป้องกันโรคทางระบบประสาทได้รับความสนใจอย่างมาก และในบทความนี้ จะนำเสนอข้อมูลที่สารเคอร์คิวมินมีการศึกษาวิจัยค้นพบบทบาทในการช่วยดูแลการทำงานของสมอง บทบาทในการป้องกันโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท และกลไกการออกฤทธิ์พื้นฐานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบสมอง
สารเคอร์คิวมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในขมิ้นชัน มีสีเหลือง และถูกนำมาใช้ในยาแผนโบราณ และในอาหาร มีการใช้มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย เคอร์คิวมินเป็นที่รู้จักที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ สารต้านอนุมูลอิสระ และต้านมะเร็ง เป็นต้น
การวิจัยพบว่าเคอร์คิวมินอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น
- ลดการอักเสบ : พบว่าสารเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่มีศักยภาพ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการของภาวะอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคลำไส้อักเสบ และโรคอักเสบเรื้อรังอื่นๆ
2. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ : สารเคอร์คิวมินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายจากอนุมูลอิสระได้
3. ปรับปรุงการทำงานของสมอง : สารเคอร์คิวมินอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองโดยการเพิ่มระดับของ the brain-derived neurotrophic factor (BDNF) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการบำรุงรักษาเซลล์ประสาทให้มีความแข็งแรงอยู่ตลอดเวลา
4. การป้องกันและรักษามะเร็ง : การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าสารเคอร์คิวมินมินอาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และอาจทำให้เซลล์มะเร็งไวต่อเคมีบำบัดมากขึ้น
5. สุขภาพหัวใจ : สารเคอร์คิวมินอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยการปรับปรุงการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความดันโลหิตและการแข็งตัวของเลือด ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6. การจัดการโรคเบาหวาน : งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าสารเคอร์คิวมินอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มความไวของอินซูลิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
สิ่งสำคัญ คือ ต้องทราบว่าในขณะที่มีการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นของสารเคอร์คิวมิน จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการค้นพบนี้ นอกจากนี้ สารเคอร์คิวมินยังดูดซึมได้ไม่ดีในร่างกาย ดังนั้นจึงมักแนะนำให้รับประทานพร้อมกับพริกไทยดำ (ซึ่งมีพิเพอรีน) หรือในรูปของอาหารเสริมที่มีการดูดซึมที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของสารเคอร์คิวมินที่พบในขมิ้นชันต่อระบบสมอง มีดังนี้
1. Curcumin and Cognitive Function : สารเคอร์คิวมินเพิ่มการเรียนรู้และจดจำของสมอง
สารเคอร์คิวมิน มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถปรับปรุงการเรียนรู้และความจำได้ เพราะสารเคอร์คิวมินมีความสามารถในการปรับระดับสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และจดจำให้มากขึ้นและช่วยให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สารสื่อประสาทโดพามีนและสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Dopamine and Serotonin) ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความจำ และการทำงานของสมองโดยรวม นั่นเอง
นอกจากนี้ สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชันยังอาจช่วยเพิ่มกระบวนการซินแนปติกพลาสติก (synaptic plasticity) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการสร้างความจดจำและเรียนรู้ในระยะยาว จึงช่วยเพิ่มการทำงานของสมองให้ดีที่สุดขึ้นมาได้
2. Curcumin as an Anti-inflammatory Agent in the Brain : สารเคอร์คิวมินต้านการอักเสบในเซลล์สมอง
การอักเสบเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท รวมทั้งโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสัน คุณสมบัติต้านการอักเสบที่มีศักยภาพของสารเคอร์คิวมินมีการศึกษาวิจัย พบว่าจะสามารถช่วยลดการอักเสบในสมอง ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหายได้
โดยสารเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตสารไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น สาร tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และ สาร interleukin-6 (IL-6) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของระบบประสาท จึงช่วยลดการอักเสบของเซลล์สมองได้ สารเคอร์คิวมินจึงอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคและการลุกลามของโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาทและสมองเหล่านี้ได้ นั่นเอง
3. Antioxidant Effects of Curcumin in the Brain : สารเคอร์คิวมินต้านสารอนุมูลอิสระในสมอง
ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative stress) เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการพัฒนาและความก้าวหน้าของการเกิดโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบสมอง ซึ่งคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพของสารเคอร์คิวมินอาจช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายและปกป้องเซลล์สมองจากความเสียหายจากสารอนุมูลอิสระได้
โดยสารเคอร์คิวมินเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ที่ต้านอนุมูลอิสระ เช่น เอนไซม์ superoxide dismutase และ เอนไซม์ glutathione peroxidase ทำให้ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระไปจากเซลล์สมองได้ นั่นเอง
4. Curcumin’s Role in Preventing Alzheimer’s Disease : สารเคอร์คิวมินช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์มีลักษณะเฉพาะ คือ มีการสะสมของแผ่นโปรตีนอะไมลอยด์-เบตา (amyloid-beta plaques) และเส้นใยประสาทนิวโรไฟบริลลารี (neurofibrillary tangles) พันกันในสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการจดจำ การเรียนรู้ และอื่นๆ ตามมา
ซึ่งสารเคอร์คิวมินมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถยับยั้งการก่อตัวของคราบโปรตีนพลัคและพันกันของเส้นใยประสาทดังกล่าวข้างต้นได้ จึงอาจจะช่วยชะลอการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์ได้
และยังมีการพบว่า สารเคอร์คิวมินสามารถส่งเสริมการกำจัดโปรตีน amyloid-beta จากสมองได้ โดยเพิ่มการทำงานของเซลล์ phagocytic เช่น microglia และ macrophages ในการเข้าไปกำจัดโปรตีนดังกล่าว ที่เป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
5. Curcumin and Parkinson’s Disease : สารเคอร์คิวมินช่วยดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาทและสมองอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ มีการสูญเสียเซลล์ประสาทที่ใช้ในการผลิตสารสื่อประสาทโดพามีนในบริเวณ substantia nigra ของสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติที่เด่นชัด คือ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น มีอาการสั่น เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก เป็นต้น
ซึ่งสารเคอร์คิวมินอาจช่วยป้องกันการสูญเสียเซลล์ประสาทชนิดนี้ได้ โดยการลดการอักเสบ และความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น รวมทั้งช่วยส่งเสริมการใช้งานผ่านกลไกวิถีการอยู่รอดของเซลล์ เช่น the nuclear factor erythroid 2-related factor 2 (Nrf2) และ the mammalian target of rapamycin (mTOR) ทำให้เซลล์ประสาทที่ผลิตสารโดปามีนมีอายุที่ยาวนานขึ้น สามารถผลิตสารสื่อประสาทได้เพียงพอต่อการใช้งาน
นอกจากนี้ สารเคอร์คิวมินยังยับยั้งการรวมตัวของโปรตีนอัลฟ่า-ไซนิวคลีอิน (alpha-synuclein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ก่อให้เกิดการรวมตัวที่เป็นพิษในโรคพาร์กินสัน ซึ่งกลไกนี้อาจช่วยชะลอการดำเนินของโรคพาร์กินสันที่เกิดขึ้นได้
6. Curcumin and Stroke : สารเคอร์คิวมินช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน
สารเคอร์คิวมินอาจช่วยป้องกันระบบประสาทและสมองจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองหยุดชะงักหรือขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองตายได้
การศึกษาพบว่า สารเคอร์คิวมินอาจจะสามารถลดขนาดของเซลล์เนื้อสมองที่ตายได้ (บริเวณเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว) และช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองและการทำงานของระบบประสาทหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวแล้ว
โดยกลไกการออกฤทธิ์อาจเป็นเพราะฤทธิ์ต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงความสามารถในการช่วยฟื้นฟูการสร้างเซลล์ประสาทและส่งเสริมการเจริญเติบโตของหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ในสมอง นั่นเอง
7. Curcumin and Traumatic Brain Injury : สารเคอร์คิวมินช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองจากอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง
การบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injury (TBI)) เป็นสาเหตุสำคัญของความพิการและการเสียชีวิตทั่วโลก ซึ่งสารเคอร์คิวมินได้แสดงให้เห็นถึงสรรพคุณในการบรรเทาผลกระทบที่เป็นอันตรายของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในสมอง
ในการศึกษาขั้นพรีคลินิก พบว่าการลดการอักเสบและความเครียดออกซิเดชันของสารเคอร์คิวมินอาจช่วยปกป้องเซลล์สมองจากความเสียหายเพิ่มเติมหลังจากได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังอาจช่วยกระตุ้นกลไกการซ่อมแซมเซลล์สมองและฟื้นฟูการฟื้นตัวของเซลล์สมองหลังจากบาดเจ็บ
8. Curcumin and Multiple Sclerosis : สารเคอร์คิวมินช่วยผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis (MS) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายปลอกไมอีลินที่อยู่รอบเส้นใยประสาท ทำให้เกิดความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกาย ด้านการมองเห็น และด้านความรู้สึกต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งคุณสมบัติต้านการอักเสบของสารเคอร์คิวมินอาจช่วยบรรเทาอาการและชะลอการลุกลามของโรค MS ได้ และการศึกษาวิจัย ยังแสดงให้เห็นว่าสารเคอร์คิวมินสามารถปรับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ช่วยลดการผลิตสารไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และช่วยส่งเสริมการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกัน ชนิด ทีเซลล์ ในการควบคุมการต้านการอักเสบได้อีกด้วย
9. Curcumin and Mood Disorders : สารเคอร์คิวมินช่วยดูแลโรคเกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
การศึกษาวิจัยในช่วงหลังๆ แสดงให้เห็นว่า สารเคอร์คิวมินอาจมีผลต่อการรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล มีความสามารถในการปรับระดับสารสื่อประสาท ช่วยลดการอักเสบ และต่อสู้กับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ ซึ่งผลจากการออกฤทธิ์ดังกล่าว จึงอาจช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นและบรรเทาอาการของความผิดปกติเหล่านี้ได้ นั่นเอง
การทดลองทางคลินิกบางการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้สารเคอร์คิวมินเสริมช่วยในการรักษาสามารถนำไปสู่การลดอาการซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการค้นพบนี้ก็ตาม
10. Enhancing Curcumin’s Bioavailability for Optimal Brain Health : สารเคอร์คิวมินต้องมีสารช่วยเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่เซลล์สมอง
ความท้าทายประการหนึ่งในการใช้ประโยชน์ต่อสุขภาพสมองของสารเคอร์คิวมิน ก็คือ สารเคอร์คิวมินดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและสมองได้ต่ำ เนื่องจากความสามารถในการละลายต่ำและเมแทบอลิซึมหรือเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
ฉะนั้น เพื่อเพิ่มการดูดซึมและประสิทธิผลของสารเคอร์คิวมิน จำเป็นต้องใช้สูตรที่ปรับปรุงการดูดซึมของสารเคอร์คิวมิน เช่น การใช้ร่วมกันของสารเคอร์คิวมินกับสารไพเพอรีน (สารประกอบที่พบในพริกไทยดำ) โดยใช้สูตรที่มีไขมันเป็นหลัก หรือการใช้อนุภาคนาโนเพื่อเพิ่มการนำส่งไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย นั่นเอง