เมื่อร่างกายขาด โคเอนไซม์ คิว 10 จะมีอาการอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง
เนื่องจากโคเอนไซม์ คิว 10 ก็คือ ตัวจุดพลังงานให้เกิดขึ้น ถ้าร่างกายขาดโคเอนไซม์ คิว 10 หรือมีปริมาณโคเอนไซม์ คิว 10 ที่ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น ทำงานได้ไม่เหมือนเดิม เหมือนกับที่เราเรารู้สึกอ่อนล้า ไร้พลังได้ในการที่จะลุกไปทำงานนั่นละครับ
และยังพบว่าระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ที่ลดลงในร่างกาย มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ เช่น
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหอบหืด
ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
โรคพาร์กินสัน
เหงือกอักเสบ
ระดับโคเอนไซม์ในร่างกายจะลดลงเมื่อ เรามีอายุมากขึ้น นั่นหมายถึงว่า
ทำไมเรามีอายุมากขึ้น ถึงรู้สึกถึงความเชื่องช้ามากยิ่งขึ้น เพราะว่าส่วนหนึ่งระดับพลังงานในร่างกายของเรา เริ่มลดลง การทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ก็จะทำได้น้อยลงเรื่อยๆ
โดยที่ระดับโคเอนไซม์ ที่ลดลง เป็นสาเหตุมาจาก
- เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ โคเอนไซม์ คิว 10 เนื่องจากขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 6
- เกิดจากความผิดปกติของยีนในการสังเคราะห์
- เกิดจากการที่ร่างกายมีความต้องการใช้โคเอนไซม์ คิว 10 มากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น
- การรับประทานยาลดไขมันในเลือดในกลุ่ม Statin
การรับประทานโคเอนไซม์ คิว 10 สามารถเพิ่มระดับของโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายได้
เนื่องจากโคเอนไซม์ คิว 10 มีความสำคัญในระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย และ
และเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็จะสังเคราะห์หรือสร้างโคเอนไซม์ คิว 10 ลดน้อยลง จึงทำให้เกิดความเชื่อมโยงต่อการเจ็บป่วยต่างๆตามมาได้
ได้มีการศึกษาในคนที่รับประทานโคเอนไซม์ คิว 10 เสริมเข้าไป พบว่า การรับประทานเสริมนั้น สามารถเพิ่มระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายขึ้นมาได้
(จากรูปภาพประกอบ Ubiquinol คือ อีกชื่อหนึ่งของโคเอนไซม์ คิว 10)
ถ้าคุณอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรทานขนาดอย่างน้อย 30 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้า 50 ปีขึ้นไป อาจต้องเพิ่มอย่างน้อย 60 มิลลิกรัมต่อวัน
แต่ถ้าคุณมีโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ ความดันโลหิตสูง เหงือกอักเสบ เหนื่อยล้าง่าย หลงๆลืมๆ หรือ ทานยาลดไขมันในกลุ่ม Statin ต้องทานโคเอนไซม์ คิว 10 ในขนาด 100 มิลลิกรัมต่อวัน (ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนทุกครั้งนะครับ)
หรือสอบถามผมมาได้ทางไลน์ Pharmalogger หรือ อีเมลล์ Pharm.oa@gmail.com
อ้างอิงจาก
Coenzyme Q10 in the treatment of hypertension: a meta-analysis of the clinical trials
Coenzyme Q10 for the treatment of heart failure: a review of the literature
Role of coenzyme Q10 as an antioxidant and bioenergizer in periodontal diseases
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี