กัญชาจะรักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร


มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ในระดับยีนหรือดีเอ็นเอ ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติทั่วไป

            จึงทำให้เกิดก้อนเนื้อที่ผิดปกติ หรือมีเซลล์ที่ผิดปกติเกิดขึ้น  โดยทั่วไปก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

            ปัจจุบัน มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดจะมีลักษณะของการเกิดของโรคไม่เหมือนกันซะทีเดียว เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรคที่รุนแรง จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ามะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

            ดังนั้น การรักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิดก็จะไม่เหมือนกัน จะมีวิธีการรักษาด้วยยาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น

ระยะของมะเร็ง

            ระยะโรคมะเร็ง จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค (การลุกลามและแพร่กระจาย) และนำไปสู่แนวทางการวางแผนรักษา

            โดยทั่วไปแล้ว โรคมะเร็งจะแบ่งได้ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4

            ระยะที่ 1 : ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม

            ระยะที่ 2 : ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ

            ระยะที่ 3 : ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง

            ระยะที่ 4 : ก้อน/แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง จนทะลุ และ/หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ/หรือ มีหลากหลายต่อม และ/หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/หรือ หลอดน้ำเหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า

ความอันตรายของโรคมะเร็ง

          อันตรายของโรคมะเร็งคงไม่ต้องบรรยายมาก เพราะผู้เขียนเชื่อว่า ผู้อ่านคงมองภาพออก เพราะ คำว่า โรคมะเร็ง ถ้าใครได้เป็น คงต้องมีความรู้สึกว่า ต้องนับถอยหลังชีวิตแล้ว ทุกอย่างคงจบลงแล้วในชีวิตนี้

            แต่ความจริงนี้ก็คงไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไร ถึงแม้โอกาสการรักษามะเร็ง จะให้หายนั้น ก็พอมีอยู่บ้าง โดยเฉพาะมะเร็งในระยะแรกๆ แต่ก็ไม่ได้มีอะไรมารับรองว่า การเป็นมะเร็งแล้วจะมีโอกาสหายขาดกันทุกคน

            ความรุนแรงและอันตรายของโรคมะเร็ง จึงเปรียบเสมือนเดิมพันชีวิต ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ

การรักษาปัจจุบัน

            โรคมะเร็งถ้าได้รักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกย่อมจะเป็นผลดีต่อการรักษา ซึ่งวิธีการรักษาก็มี ดังต่อไปนี้

            การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด เป็นการให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ฮอร์โมนบำบัด เป็นการใช้ฮอร์โมน และการรักษาแบบผสมผสาน เป็นการรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค

การใช้สมุนไพร

            ขมิ้น (Curcuma longa) สารสำคัญ คือ เคอร์คิวมิน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่แรง สามารถทำให้เซลล์มะเร็งหลายชนิดตายได้ เช่น ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ กระเพาะ ลำไส้เล็ก รังไข่ และยังมีฤทธิ์ต้านไวรัส แบคทีเรียและราอีกด้วย 

ขมิ้นชันสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้

            ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ในอินเดียใช้กันมานานรักษาไทฟอยด์ แก้อักเสบ แก้มาเลเรีย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน มีสารสำคัญ คือ andrographolide สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด 

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เกี่ยวข้องอะไรกับโรคมะเร็ง

            ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งรวมถึงการควบคุมในระดับเซลล์ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็พบตั้งแต่การแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตของเซลล์ การทำงานของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ

            ซึ่งผลจากการควบคุมแบบนี้ทำให้มีผลต่อการควบคุมหรือมีผลต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่จะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน

            ดังนั้น ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ก็เป็นระบบที่คอยควบคุม ตรวจสอบ การเกิดเซลล์มะเร็งด้วย ถ้ามีการทำงานที่บกพร่องหรือไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่สามารถควบคุมหรือกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติ จนสุดท้ายเซลล์เหล่านี้ก็กลายพันธุ์ จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

            ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ จึงเกี่ยวข้องกับการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายอย่างแยกไม่ออก นั่นเอง      

ทำไมต้องกัญชา

            สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จัดว่า เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีโอกาสในการนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพราะว่า ปัจจุบันเราพบว่า เซลล์มะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์

            ฉะนั้น การที่กัญชาสามารถออกฤทธิ์ได้โดยตรงผ่านระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ จึงอาจจะถูกนำมาใช้ในการรักษาหรือเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง นั่นเอง

กัญชาเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งอย่างไร

            สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา มีรายงานการศึกษาพบว่า สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ในหลายขั้นตอน ซึ่งในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็มีรายงาน ผู้ป่วยมะเร็งได้ประโยชน์จากการใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา

            สาร THC และ สาร CBD ซึ่งเป็นสารหลักในกลุ่มสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่พบในกัญชา สามารถออกฤทธิ์ในระดับเซลล์ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งในขั้นตอนต่างๆได้ หลังจากจับกับตัวรับชนิดต่างๆ เช่น ตัวรับ CB1 ตัวรับ CB2 หรือแม้ตัวรับ GPR55 และตัวรับในตระกูล PPARS เป็นต้น

            ผลของฤทธิ์สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา ทำให้มะเร็งถูกกำจัด มีดังนี้

1. ทำให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนไม่ได้

2. ทำให้เซลล์มะเร็งสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ไม่ได้

สารไฟโตแคนนาบินอยด์สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ครบวงจร

3. ทำให้เซลล์มะเร็งรุกรานเซลล์รอบข้างไม่ได้

4. ทำให้มะเร็งแพร่กระจายไม่ได้

แนวทางการใช้กัญชา ร่วมกับสมุนไพรอื่น ในการรักษาโรคมะเร็ง

            การใช้กัญชา ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาจต้องพิจารณายาเคมี หรือ ยาสมุนไพรอื่นๆที่ผู้ป่วยได้รับด้วย เพราะว่า ยาเหล่านี้ เมื่อมีการใช้ร่วมกัน จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ยาตีกันเกิดขึ้น ซึ่งผลของยาตีกัน อาจทำให้ยาตัวใดตัวหนึ่งด้อยประสิทธิภาพลง หรือ ทำให้ยาบางตัวเกิดมีฤทธิ์แรงขึ้น และนำไปสู่การเกิดอาการข้างเคียงที่อาจอันตรายต่อผู้ป่วยได้ การใช้กัญชาจึงต้องมีความจำเป็นต้องรู้เรื่องยาตีกัน จะได้นำไปพิจารณาหรือเป็นข้อควรระวังเบื้องต้นก่อนที่จะใช้ นั่นเอง

การใช้กัญชาร่วมกับยาเคมีบำบัดมีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เพียงสั่งซื้อหนังสือตามรายละเอียดด้านล่าง ความหนา 612 หน้า มีภาพประกอบชัดเจน

เอกสารอ้างอิง

Cannabinoids in cancer treatment: Therapeutic potential and legislation. Bosn J Basic Med Sci. 2019;19(1):14–23.

The current state and future perspectives of cannabinoids in cancer biology. Cancer Med. 2018;7(3):765–775.

Therapeutic applications of herbal medicines for cancer patients. Evid Based Complement Alternat Med. 2013;2013:302426.

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี