อาหารเสริมโอเมกา 3 จากพืช ไม่เพียงพอต่อร่างกาย


อาหารเสริมที่เป็นกรดไขมันโอเมกา 3 มีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ จากสัตว์และจากพืช ซึ่งจากสัตว์ ที่เรารู้จักดี เช่น น้ำมันปลา น้ำมันคริล เป็นต้น และอีกจากแหล่ง ก็คือ พืชน้ำมันชนิดต่างๆ เช่น เมล็ดแฟลก เมล็ดเชีย ถั่วเหลือง ฟักทอง และทานตะวัน เป็นต้น

ซึ่งอาหารเสริมโอเมกา 3 ที่มีที่มาจากในกลุ่มพืช ส่วนใหญ่จะมีสารสำคัญออกฤทธิ์ที่สำคัญ ชื่อว่า Alpha Linolenic acid หรือ AlA ซึ่งถ้าเราเคยเลือกซื้ออาหารเสริมโอเมกา 3 มารับประทาน ก็จะเคยเห็นชื่อนี้ หรือ ตัวย่อนี้ ติดอยู่ในฉลากเพื่อบอกให้ผู้ซื้อรับทราบ

โอเมกา 3 ประกอบไปด้วยสารสำคัญในการออกฤทธิ์ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ซึ่ง

Alpha Linolenic acid หรือ AlA  เป็นสารอาหารที่ยังไม่พร้อมออกฤทธิ์ในร่างกาย จะต้องถูกเปลี่ยนไปเป็น DHA และ EPA ก่อน จึงจะมีประโยชน์ต่างๆต่อร่างกาย

ซึ่งการที่ร่างกายจะเปลี่ยน Alpha Linolenic acid หรือ AlA ให้เป็น EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) จะต้องใช้วิตามินและสารอาหารชนิดต่างๆมาช่วยในการเปลี่ยน เช่น วิตามิน บี 6 (Vitamins B6), วิตามิน บี 7 (Vitamin B7), แร่ธาตุทองแดง (Copper), แคลเซียม (Calcium), แมกนีเซียม (Magnesium), สังกะสี (Zinc) และ ธาตุเหล็ก (Iron)

และการที่ร่างกายจะเปลี่ยนจาก Alpha Linolenic acid หรือ AlA ไปเป็น EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก

โดยจะสามารถเปลี่ยนไปเป็น EPA (Eicosapentaenoic Acid) เพียง 1 – 10 เปอร์เซนต์เท่านั้น

และในขณะเดียวกัน

ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็น DHA (Docosahexaenoic Acid) เพียง 0.5 – 5 เปอร์เซนต์เท่านั้น

 

ฉะนั้น การเลือกอาหารเสริมที่อยู่ในรูปแบบสารอาหารที่ชื่อ Alpha Linolenic acid หรือ AlA เพื่อหวังผลจะได้รับสารอาหาร EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ที่อยู่ในกลุ่มโอเมกา 3 นั้น ร่างกายอาจได้รับไม่เพียงพอได้

ga('create', 'UA-90091341-3', 'auto');

ga('send', 'pageview');

 

เอกสารอ้างอิง

Burdge GC. Metabolism of alpha-linolenic acid in humans.Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 2006 Sep;75(3):161-8.

Brenna JT. Efficiency of conversion of alpha-linolenic acid to long chain n-3 fatty acids in man. Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 2002 Mar;5(2):127-32.

Gerster H. Can adults adequately convert alpha-linolenic acid (18:3n-3) to eicosapentaenoic acid (20:5n-3) and docosahexaenoic acid (22:6n-3)?. Int J Vitam Nutr Res. 1998;68(3):159-73.

Burdge GC, Wootton SA. Conversion of alpha-linolenic acid to eicosapentaenoic, docosapentaenoic and docosahexaenoic acids in young women. Br J Nutr. 2002 Oct;88(4):411-20.

 

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี Line : Pharmalogger