Cannabidiol (CBD) เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นยาที่ไม่ทำให้มึนเมา เหมือนกับสาร THC ซึ่งได้มาจากพืชตระกูลกัญชา หรือ Cannabis sativa ที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในด้านประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ มีการค้นพบว่า สาร CBD มีคุณสมบัติในการบรรเทาความรุนแรงของโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ หรือที่เรียกว่า Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD)
ซึ่งในบทความนี้ จะนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ที่มีการค้นพบ 9 กลไกการออกฤทธิ์ที่มีผลดีต่อสุขภาพตับ จากภาวะไขมันพอกตับ ชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอร์ ดังนี้
1. Anti-inflammatory action: ยับยั้งการอักเสบของเซลล์ตับ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า สาร CBD มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ โดยการออกฤทธิ์ไปยังเป้าหมายระดับโมเลกุลต่างๆ เช่น nuclear factor-kappa B (NF-κB) และ Peroxisome proliferator-activated receptor-gamma (PPAR-γ) ซึ่งจะทำให้มีการสร้างสารและปลดปล่อยสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบน้อยลง (pro-inflammatory cytokines) เช่น สาร อินเตอร์ลิวคิน-6 (IL-6) และ tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) เป็นต้น ซึ่งการลดการอักเสบในตับสามารถช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากภาวะ NAFLD ดังกล่าวได้ และป้องกันการลุกลามและรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับได้ในที่สุด
2. Antioxidant properties: คุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ
ภาวะความเครียดออกซิเดชัน หรือ Oxidative stress ซึ่งเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างสารอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆเวลาในเซลล์ตับที่มีการทำงานตามปกติ และสารอนุมูลอิสระมีส่วนเกี่ยวข้องในการเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับ ชนิด NAFLD ได้ ซึ่ง สาร CBD มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น เอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) และ เอนไซม์คาตาเลส (CAT) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงสามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ และลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น รวมทั้งช่วยปกป้องเซลล์ตับจากการถูกทำลายได้ นั่นเอง
3. Modulation of the endocannabinoid system (ECS): ปรับสมดุลการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในเซลล์ตับ
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (ECS) เป็นเครือข่ายการส่งสัญญาณที่ซับซ้อน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ รวมถึงการเผาผลาญไขมันและความไวของอินซูลิน และสาร CBD ได้รับการศึกษาวิจัยพบว่า มีคุณสมบัตที่สามารถทำงานควบคุมระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ได้ โดยเข้าไปจับกับตัวรับ หรือ Receptors ของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เช่น ตัวรับ CB1 และ ตัวรับ CB2 แล้วทำให้เกิดการช่วยควบคุมกระบวนการเผาผลาญไขมันหรือเมแทบอลิซึมของไขมัน และยังปรับปรุงความไวของอินซูลินให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันการสะสมของไขมันที่มากเกินไปในเซลล์ตับ นั่นเอง
4. Induction of autophagy: กระตุ้นให้กำจัดเซลล์ตับที่สึกหรอหรือเสียหายทิ้งไป
กระบวนการ Autophagy เป็นกระบวนการระดับเซลล์ที่ช่วยกำจัดส่วนประกอบของเซลล์ตับที่เสียหายหรือไม่จำเป็นออกไป ซึ่งจะช่วยรักษาสภาวะสมดุลของเซลล์ตับให้มีเซลล์ปกติเท่านั้น ซึ่งสาร CBD ได้รับพิสูจน์จากการศึกษาวิจัยว่า สามารถกระตุ้นกระบวนการ autophagy ในเซลล์ตับนี้ได้ โดยการกระตุ้นผ่านทาง AMP-activated protein kinase (AMPK) ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยกำจัดส่วนประกอบของเซลล์ที่เสียหายของตับทิ้งไป ไม่ให้ก่อความเสียหายต่อเซลล์ตับที่ลุกลามไปมากกว่านี้ และยังช่วยส่งเสริมการทำงานของตับให้แข็งแรงขึ้น
5. Inhibition of lipid accumulation: ยับยั้งการสะสมไขมันในเซลล์ตับ
สาร CBD ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารรถช่วยลดการสะสมของไขมันในเซลล์ตับได้ โดยลดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไขมัน เช่น ยีน Sterol regulatory element-binding protein 1c (SREBP-1c) และ Fatty acid synthase (FAS) ทำให้ยับยั้งการสร้างไขมันมาสะสมที่ตับได้ และในเวลาเดียวกัน สาร CBD ยังควบคุมการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิด fatty acid oxidation หรือ การสลายไขมันด้วย เช่น ยีน Carnitine palmitoyltransferase 1 (CPT1) ซึ่งการทำงานทั้ง 2 กลไกนี้ จึงจะช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับมากเกินไปได้มากยิ่งขึ้น นั่นเอง
6. Modulation of gut microbiota: ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
จุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญในการปรับหรือควบคุมกาารทำงานของระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมทั้งไขมันในเซลล์ตับด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ไม่สมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีและจุลินทรีย์ก่อโรค จะเชื่อมโยงกับการนำไปสู่การเกิดภาวะไขมันพอกตับแบบ NAFLD ซึ่งจากการศึกษาวิจัย แสดงให้เห็นว่า สาร CBD มีบทบาทต่อองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยสามารถช่วยในการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียมให้กับลำไส้ได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดไขมันพอกตับและบรรเทาอาการต่างๆของภาวะไขมันพอกตับแบบ NAFLD ได้ เช่น อาการแน่นท้อง อืดท้อง เป็นต้น
7. Regulation of liver fibrosis: ช่วยควบคุมการเกิดพังพืดในเซลล์ตับ
การเกิดพังผืดจะเกี่ยวข้องกับการสะสมของเซลล์โปรตีนมากเกินไป ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของภาวะไขมันพอกตับ แบบ NAFLD ที่จะสามารถพัฒนาไปสู่โรคตับแข็งได้ ซึ่งสาร CBD มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถยับยั้งการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ตับชนิดสเตลเลต หรือ hepatic stellate cells (HSCs) ได้ ซึ่งเซลล์ตับดังกล่าวเป็นเซลล์หลักที่มีหน้าที่ในการทำให้เกิดพังผืดในตับ โดยสาร CBD จะไปลดการควบคุมเส้นทางการส่งสัญญาณของทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟกเตอร์เบต้า (TGF-β) หรือ transforming growth factor-beta (TGF-β) signaling pathway ในเซลล์ตับชนิดสเตลเลต หรือ (HSCs) ซึ่งกลไกนี้จะช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของพังพืดในตับและป้องกันความรุนแรงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตับได้
8. Enhancement of insulin sensitivity: เพิ่มความไวต่ออินซูลินในเซลล์ตับ
การดื้อต่ออินซูลินเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นสาเหตุและนำไปสู่ความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับ ชนิด NAFLD ซึ่งสาร CBD ได้รับการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถปรับปรุงความไวของอินซูลินได้ โดยการปรับและควบคุมเส้นทางการส่งสัญญาณต่างๆในเซลล์ตับ เช่น ผ่านทาง phosphoinositide 3-kinase (PI3K)/Akt และผ่านทางโปรตีนไคเนส หรือ the adenosine monophosphate-activated protein kinase (AMPK) pathway ทำให้สาร CBD สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเซลล์ตับและป้องกันการลุกลามของไขมันพอกตับได้
9. Promotion of healthy liver regeneration: ส่งเสริมการฟื้นฟูและสร้างเซลล์ตับขึ้นมาใหม่
การฟื้นฟูเซลล์ตับเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการรักษาและคงการทำงานของตับและซ่อมแซมความเสียหายของเซลล์ตับให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งสาร CBD พบว่ามีฤทธิ์ในการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนเซลล์ตับขึ้นมาใหม่และเร่งการสร้างใหม่ของตับได้ โดยออกฤทธิ์ผ่านเส้นทางการส่งสัญญาณต่างๆ เช่น เส้นทาง Wnt/β-catenin และ epidermal growth factor receptor (EGFR) pathways เป็นต้น ซึ่งการออกฤทธิ์ผ่านกลไกเหล่านี้จะช่วยในกระบวนการฟื้นตัวของเซลล์ตับหลังจากได้รับบาดเจ็บ และป้องกันการเกิดโรคตับที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคตับแข็ง นั่นเอง