สารเคอร์คิวมินเป็นสารประกอบในกลุ่มโพลีฟีนอลที่พบในขมิ้นชัน ปัจจุบันได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาวิจัยพบว่า มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันและรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 (T2DM) ซึ่งในการศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์พบถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารเคอร์คิวมินที่พบในขมิ้นชันหลากหลายกลไกในกลุ่มการเจ็บป่วยหลายๆโรคและในบทความนี้ จะนำเสนอ 7 กลไกการออกฤทธิ์ของสารเคอร์คิวมินที่พบในขมิ้นชัน ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้
1. Anti-inflammatory effects : ยับยั้งการอักเสบแบบเรื้อรัง
การอักเสบเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งทำให้โรครุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคุณสมบัติต้านการอักเสบของสารเคอร์คิวมินเกิดจากความสามารถในการยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ หรือ สาร pro-inflammatory เช่น นิวเคลียสแฟคเตอร์แคปปาบี หรือ nuclear factor-kappa B (NF-κB), ไซโคลออกซีจีเนส-2 cyclooxygenase-2 (COX-2) และ tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) โดยการยับยั้งสารเหล่านี้ ดังนั้น สารเคอร์คิวมิน จึงสามารถช่วยลดการอักเสบในหลอดเลือดและลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
สรุปเข้าใจง่ายๆ คือ สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชัน ยับยั้งการอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการอักเสบเรื้อรัง คือ สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
2. Antioxidant properties : คุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ
สารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ และถ้าระบบการควบคุมสมดุลระหว่างสารอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายไม่สมดุล มีสารอนุมูลอิสระตกค้างเยอะในหลอดเลือดหัวใจ ก็จะเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคในระบบหลอดเลือดและหัวใจได้
คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของสารเคอร์คิวมินเกิดจากความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระ และ ควบคุมเอนไซม์ที่ช่วยต้านความเป็นพิษของสารอนุมูลอิสระ ซึ่งผลของสารเคอร์คิวมินดังกล่าว ก็จะช่วยปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดจากความเสียหายจากสารอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
3. Endothelial function improvement : ดูแลและฟื้นฟูเยื่อบุผนังหลอดเลือดหัวใจ
เยื่อบุผนังหลอดเลือด หรือ endothelium เป็นเยื่อบุด้านในของหลอดเลือด มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการอักเสบ และควบคุมการแข็งตัวของเลือด ซึ่งความผิดปกติของเยื่อบุผนังหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญในการนำไปสู่โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้
ซึ่งสารเคอร์คิวมินสามารถเสริมหรือช่วยการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยช่วยเพิ่มการผลิตสารไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในขยายหลอดเลือดและมีผลช่วยลดความดันโลหิต นอกจากนี้ สารเคอร์คิวมินยังช่วยลดการอักเสบในผนังหลอดเลือด ทำให้บุผนังหลอดเลือดมีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น
4. Lipid regulation : ควบคุมไขมันในเลือด
ระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดต่างๆรวมทั้งหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งสารเคอร์คิวมินสามารถควบคุมและเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือดและที่เกาะตามผนังของหลอดเลือดได้ รวมทั้งยับยั้งการสร้างไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการยับยั้งเอนไซม์ 3-ไฮดรอกซี-3-เมทิล-กลูทาริล-โคเอ รีดักเตส (HMG-CoA รีดักเตส) หรือ 3-hydroxy-3-methyl-glutaryl-CoA reductase (HMG-CoA reductase)
นอกจากนี้ยังเพิ่มการแสดงออกของตัวรับ peroxisome proliferator-activated receptor-alpha (PPAR-α) ซึ่งเป็นตัวรับในระดับนิวเคลียร์ของเซลล์ที่ควบคุมการเผาผลาญกรดไขมันและช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ให้นำไขมันไปเผาผลาญได้มากขึ้น
สรุป คือ สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชัน จะช่วยลดการสังเคราะห์ไขมันขึ้นมาและนำไขมันไปเผาผลาญเป็นพลังงานมากขึ้น ทำให้ไขมันไม่มาเกาะตามผนังหลอดเลือด จึงลดความเสี่ยงการอุดตันหรือตีบได้
5. Antiplatelet activity : คุณสมบัติการยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด
การเกาะกันของเกล็ดเลือดและการก่อตัวของลิ่มเลือดสามารถนำไปสู่อาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตันได้ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า สารเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ต้านการเกาะกันของเกล็ดเลือด โดยยับยั้งการสังเคราะห์สาร thromboxane A2 (TXA2) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มีการเกาะตัวของเกล็ดเลือดเกิดขึ้น จากกลไกดังกล่าว สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชัน จึงสามารถช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดให้เป็นปกติและป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือดและเกล็ดเลือดที่เป็นอันตรายได้
6. Anti-atherosclerotic effects :ยับยั้งการเกิดหลอดเลือดที่แข็ง ไม่ยืดหยุ่น
หลอดเลือดที่แข็งตัว ไม่มีความยืดหยุ่นในการบีบตัวและคลายตัว เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดหัวใจ แล้วมีการอักเสบเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง จึงนำไปสู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในผนังหลอดเลือด จนทำให้ผนังหลอดเลือดมีการแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น บีบตัวและคลายตัว เพื่อให้เลือดไหลเวียน เกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่
ซึ่งสารเคอร์คิวมินสามารถยับยั้งการเกิดแผ่นไขมันที่ไปเกาะตามผนังในหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของโมเลกุล vascular cell adhesion molecules (VCAMs) และ intercellular adhesion molecules (ICAMs) ที่จะทำให้มีการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอักเสบมากขึ้นลงได้ จึงช่วยลดการอักเสบและป้องกันการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดได้ในที่สุด
สรุปก็คือ สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชัน สามารถป้องกันและลดการแข็งตัวของหลอดเลือดได้ ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นที่ดี ไม่แตก ไม่ตีบ ไม่ตัน
7. Blood pressure regulation : ควบคุมระดับความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งสารเคอร์คิวมินสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยปรับปรุงการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด หรือ endothelial ให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความยืดหยุนดีในการรองรับการบีบและคลายตัวของหลอดเลือด และยังช่วยเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซต์ หรือ NO ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดคลายตัวได้ดีขึ้น
8. Cardioprotective effects : คุณสมบัติในการปกป้องหัวใจ
สารเคอร์คิวมินได้รับการศึกษาวิจัยพบว่า มีคุณสมบัติในการปกป้องหัวใจจากการบาดเจ็บจากการขาดเลือดหรือเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ช่วยยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้น และทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อหัวใจทนต่อการบาดเจ็บหรือขาดเลือดได้มากขึ้นผ่านกลไกต่างๆ เช่น ผ่านทางไคเนสที่ควบคุมสัญญาณภายนอกเซลล์ หรือ extracellular signal-regulated kinase (ERK) pathways เป็นต้น
9. Modulation of cardiac remodeling : ควบคุมหรือปรับกระบวนการฟื้นฟูหัวใจให้มีประสิทธิภาพและแข็งแรง
หลังจากเกิดภาวะหัวใจวายหรือเกิดภาวะอันตรายต่อหัวใจ หัวใจจะผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปรับหรือเปลี่ยนแปลงของหัวใจ หรือ cardiac remodeling ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของขนาด รูปร่าง และการทำงานของหัวใจ เช่นเดียวกับการเกิดพังผืด การอักเสบ และสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งสารเคอร์คิวมินสามารถช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของหัวใจดังกล่าวโดย
9.1 ยับยั้งการเกิดพังผืด : สารเคอร์คิวมินยับยั้งการกระตุ้นของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ หรือ fibroblasts cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีส่วนในการสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นในหัวใจ นอกจากนี้ยังยับยั้งการสังเคราะห์คอลลาเจนในเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจด้วย โดยลดการควบคุมการแสดงออกของทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟกเตอร์-เบต้า (TGF-β) หรือ transforming growth factor-beta (TGF-β) ซึ่งเป็นสารไซโตไคน์ที่กระตุ้นให้สร้างพังผืดขึ้น นั่นเอง
9.2 ลดการอักเสบ : ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า สารเคอร์คิวมินสามารถยับยั้งการผลิตสารไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้และยังสามารถยับยั้งการกระตุ้นกลไกการส่งสัญญาณให้เกิดการอักเสบ เช่น กลไก NF-κB เป็นต้น ซึ่งการออกฤทธิ์ผ่านกลไกเหล่านี้ช่วยลดการอักเสบในหัวใจ
9.3 ต้านสารอนุมูลอิสระ : คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของสารเคอร์คิวมินสามารถช่วยปกป้องหัวใจจากปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วปล่อยสารอนุมูลอิสระออกมาได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ