5 เกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับรางวัลในต่างประเทศ


ช่วงหลังๆ 2 ปีมานี้ผมได้รับการเล่าให้ฟังและได้รับการติดต่อโดยตรง ในเรื่องรางวัลผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเด่นต่างๆ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า เกณฑ์ที่ว่านั้น คืออะไร ในการพิจารณาว่า สินค้าจะได้รับรางวัลนั้นๆ แต่สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ต่างประเทศใช้ในการจะบอกว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆได้มาตรฐานหรือไม่ คือ


1. Label Accuracy

Label Accuracy หมายถึง การระบุฉลากในปริมาณของสารสกัดหรือวิตามิน ตรงตามที่ระบุหรือไม่ เช่น ฉลากระบุว่า แคลเซียม 500 มิลลิกรัม แต่ถ้านำไปตรวจจริง อาจจะมีแค่ 450 มิลลิกรัม หรือ 300 มิลลิกรัมก็ได้

 

2. Product Purity

Product Purity หมายถึง การตรวจความบริสุทธิ์ของวิตามินหรือสารสกัด ว่ามีความบริสุทธิ์หรือปนเปื้อนด้วยสารต้องห้ามหรือไม่ เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แม้จะได้รับเพียงครั้งละเล็กน้อยๆก็ตาม แต่อย่าลืม เราไม่ได้กินวิตามินแค่เม็ดเดียว หลายครั้ง เรากินเป็นเดือน หลายเดือน ซึ่งนั้นก็เพียงพอต่อการก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแล้ว

 

3.Nutrition Value

Nutrition Value หมายถึง การตรวจเพื่อตรวจสอบว่า วิตามินหรือสารอาหารนั้น ในสูตรตำรับหรือของแบรนด์นั้นๆ ให้คุณค่าหรือประโยชน์ต่อร่างกายเพียงพอ หรือ เกินมาตรฐานที่ร่างกายควรจะได้รับหรือไม่

 

4. Ingredient Safety

Ingredient Safety หมายถึง การตรวจสอบว่า สารสกัดหรือวิตามินที่ออกฤทธิ์หลัก และสารอื่นๆที่อยู่ในแบรนด์นั้นๆ มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน สารไหนที่ควรระวังในกลุ่มคนละประเภท เช่น คนที่แพ้สารกลูเตน เป็นต้น

 

5. Projected Efficacy

Projected Efficacy หมายถึงว่า ปริมาณสารสกัดหรือวิตามินนั้นๆที่อยู่ในสูตร เพียงพอต่อการออกฤทธิ์ตามที่ระบุไว้หรือไม่ หรือเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และยังหมายถึง แบรนด์นั้นๆได้รับการทดสอบหรือศึกษาวิจัยจริงหรือไม่ด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น ผมว่า รางวัลต่างๆที่มอบให้รั้น อาจยังห่างไกลจากการใช้เกณฑ์ทั้ง 5 ข้อพิจารณาอยู่มาก เราจึงยังคงมีสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และแทบจะไม่มีการตรวจสอบใดๆออกสู่ผู้บริโภคอยู่เป็นประจำๆ จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่วงการวิตามินและอาหารเสริมไม่ได้รับการยอมรับมากนัก

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี Line : Pharmalogger