เห็ด 3 ชนิดที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ได้รับยืนยันจากการวิจัย


คำว่า เห็ดเป็นยา เป็นคำกล่าวที่มีมาอย่างช้านาน และเห็ดก็อยู่ ตำราการแพทย์มาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดก็มีมากมาย และการใช้ในตำราทางการแพทย์ก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

ปัจจุบันมีการนำเห็ดมาใช้ในสรรพคุณการเป็นยามากขึ้น ประกอบการศึกษาวิจัยมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การใช้เห็ดเป็นยา จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างมากยิ่งขึ้นในโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งโรคเบาหวานก็จัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีการนำเห็ดชนิดต่างๆมาใช้ในผู้ป่วย และพบว่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ ซึ่งบทความนี้ มีเห็ด 3 ชนิดที่ได้รับการยอมรับว่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มาให้ได้อ่านกันครับ

1. เห็ดหลินจือ (Ganoderma Lucidum (Reishi)

เห็ดหลินจือ ได้ชื่อว่า เป็นยาอายุวัฒนะ มีทั้งอยู่ในตำราทางการแพทย์และเมนูอาหารต่างๆมากมาย มาอย่างยาวนานกว่า 2,000 ปี ในแถบเอเชียตะวันออก

สาระสำคัญที่มีการศึกษาวิจัยที่พบในเห็ดหลินจือ คือ สารในกลุ่ม triterpenoids ซึ่งประกอบไปด้วย ganodermic acids polysaccharides (β-d-glucans), coumarin, mannitol และ alkaloids

ซึ่งสรรพคุณของสารสกัดเหล่านี้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีดังนี้%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95


1. ลดความดันโลหิตสูง
2. ลดระดับไขมันในเลือด
3. ปกป้องการทำงานของตับ
4. มีฤทธิ์ในการป้องการเกิดภูมิแพ้
5. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
6. ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

สำหรับสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ของเห็ดหลินจือ นั้น จากการศึกษาพบว่า เห็ดหลินจือ ช่วยลดการดื้อของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และและยังช่วยเพิ่มการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ผ่านช่องทางที่เรียกว่า GLUT 4 เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เห็ดไมตาเกะ (Grifola Frondosa (Maitake)

เห็ดไมตาเกะ เป็นเห็ดที่มีการศึกษาค้นพบว่า มีการออกฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมือนกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า Alpha glucosidase inhibitor ซึ่งเอนไซม์ Alpha glucosinase เป็นเอนไซม์ที่ย่อยอาหารจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย

ฉะนั้น การยับยั้งเอนไซม์ชนิดนี้ จึงเหมือนกับการยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เลือดนั้นเอง%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95

จากการศึกษาวิจัย พบว่ามีสารออกฤทธิ์สำคัญที่พบในเห็ดไมตาเกะ ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ คือ

1. Proteoglucans with beta-1,6
2. Beta-glucans
3. Trehalose

โดยสารสกัด Proteoglucans with beta-1, 6 พบว่าออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการเพิ่มความไวของอินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย

สารสกัดเบต้ากลูแคน (Beta-glucans) พบว่าออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เลือด

และสาร Trehalose พบว่า ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เลือด และยับยั้งเอนไซม์ Alpha glucosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะเปลี่ยนอาหารจำพวกแป้ง ให้กลายเป็นน้ำตาล

3. เห็ดถั่งเช่า (Cordyceps Species)

เห็ดถั่งเช่า ถือว่า เป็น ยาอายุวัฒนะอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเห็ดถังเช่าที่นิยม นำมา

%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%89ใช้ในทางการแพทย์ ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ Cordyceps sinensis และ Cordyceps militaris หรือเรียกกันง่ายๆว่า ถั่งเช่าธิเบต และ ถั่งเช่าสีทอง ตามลำดับ

Cordyceps (a genus of ascomycete fungi) in isolated white background

โดยจากการศึกษาในเห็ดถั่งเช่า พบว่า มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยผ่านกลไก ดังนี้ กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ทำให้อินซูลินที่หลั่งออกมา ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

ถึงแม้เห็ดทั้ง 3 ชนิดที่ยกมา จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก่อนการใช้หรือรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ร่วมด้วย เพราะการนำไปใช้ร่วมกับยาที่รับประทานอยู่แล้ว อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำมาก จนอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น วูบ หมดสติ หรือช๊อคได้

ปล. เห็ดบ้านๆแบบไทยก็มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เหมือนกันครับ

อ้างอิงจาก

Boh B, Berovic M, Zhang J, Zhi-Bin L. Ganoderma lucidum and its pharmaceutically active compounds. Biotechnology annual review. 13:265-301. 2007.

Zhang H-N, Lin Z-B. Hypoglycemic effect of Ganoderma lucidum polysaccharides. Acta Pharmacologica Sinica. 25:191-5. 2004.

Kubo K, Aoki H, Nanba H. Anti-diabetic activity present in the fruit body of Grifola frondosa (Maitake). I. Biological & pharmaceutical bulletin. 17:1106. 1994.

Yamauchi T, Kamon J, Waki H, Terauchi Y, Kubota N, Hara K, et al. The fat-derived hormone adiponectin reverses insulin resistance associated with both lipoatrophy and obesity. Nature medicine. 7:941-6. 2001.

Vincent M, Philippe E, Everard A, Kassis N, Rouch C, Denom J, et al. Dietary Supplementation With Agaricus Blazei Murill Extract Prevents Diet-Induced Obesity and Insulin Resistance in Rats. Obesity. 2012.

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี