แอนโธไซยานินเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ประเภทหนึ่งที่ทำให้ผักและผลไม้มีสีแดง ม่วง และน้ำเงินที่โดดเด่น เช่น องุ่น เบอรี่ เป็นต้น การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าสารแอนโธไซยานินมีคุณสมบัติที่ชัดเจนในการปกป้องหัวใจและหลอดเลือด และนี่คือ 7 กลไกการออกฤทธิ์ของสารแอนโธไซยานินในการปกป้องหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาวิจัยล่าสุด
1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด endothelial โดยสารแอนโธไซยานินสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุหลอดเลือดได้ ซึ่งจะทำให้การไหลเวียนของเลือด ความดันโลหิต และการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ (NO) ดีขึ้น
2. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ โดยสารแอนโธไซยานินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพและฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยการกำจัดอนุมูลอิสระ และยับยั้งการแสดงออกของยีนที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
3. ลดไขมันในเลือด พบว่าสารแอนโธไซยานินลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ และยังพบว่า สารแอนโธไซยานินยังสามารถลดการสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือดแดงได้ด้วย
5. การควบคุมความดันโลหิต โดยสารแอนโธไซยานินอาจช่วยควบคุมความดันโลหิต โดยการทำให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือดได้ดี ลดการบีบรัดของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ในการบีบตัวและคลายตัวดีขึ้น
6. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการแมแทบอลิซึม โดยพบว่าสารแอนโธไซยานินช่วยปรับปรุงกระบวนการเมแทบอลิซึมของน้ำตาลกลูโคส โดยเพิ่มความไวของอินซูลิน เพิ่มการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส และลดการสร้างกลูโคสในร่างกาย ซึ่งสารแอนโธไซยานินจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ นั่นเอง
7. การป้องกันไมโตคอนเดรีย โดยสารแอนโธไซยานินจะช่วยปกป้องไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยผลิตพลังงานในเซลล์ให้กับร่างกายทุกส่วน ซึ่งถ้าไมโตคอนเดรียไม่สามารถผลิตพลังงานให้กับหลอดเลือดหรือหัวใจได้เพียงพอ ก็จะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจต่างๆได้นั่นเอง ซึ่งสารแอนโธไซยานินสามารถช่วยปรับปรุงการเผาผลาญพลังงานของเซลล์และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองด้วยการรักษาการทำงานของไมโทคอนเดรียให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา นั่นเอง
ดังนั้น ก็จะเห็นว่า จากการศึกษาวิจัยเราก็จะพบว่า สารแอนโธไซยานินมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก ซึ่งสามารถเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไว้ดูแลสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดได้ นั่นเอง