ตัวรับของกัญชานอกจากตัวรับที่เรารู้จักกัน ไม่ว่าจะเป็น CB1,CB2, TRPV, GPR ชนิดต่างๆ ผลของการจับของกัญชา กัญชง ณ ตำแหน่งต่างๆในตัวรับก็มีผลต่อการออกฤทธิ์เช่นกัน
ตามภาพประกอบจะเห็นว่า ตัวรับ CB1 นั้น การที่กัญชา หรือ สารหลัก เช่น THC และ CBD ไปจับ ณ ตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ต่างกัน ผลที่ได้ก็ต่างกันได้
หรือ ในตำแหน่งต่างๆของตัวรับ ก็ไม่ใช่ว่า กัญชาจะจับได้ทุกตำแหน่ง ยังมีการเลือกจับ ณ ตำแหน่งของตัวรับที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น
THC จับกับตำแหน่งของ CB1 ที่เป็นบริเวณที่เกิดผลลัพธิ์แบบ Partial Agonist ซึ่งก็หมายถึงว่า ออกฤทธิ์ได้บางส่วน ไม่ได้ถูกกระตุ้นได้แบบเต็มที่ 100 %
แต่ถ้าจับอีกตำแหน่ง ในตำแหน่งที่ทำให้เกิดผลลัพธ์แบบ Antagonist ก็จะให้ผลออกมาในรูปแบบ การยับยั้ง เป็นต้น
ตรงนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า ต่อให้ร่างกายได้รับสาร THC เข้าไปมากเท่าไร ผลของการออกฤทธิ์มันก็จะเกิดขึ้นแค่บางส่วนเท่านั้น ไม่ได้เกิดเต็ม 100 % จึงทำให้มีความปลอดภัยในการใช้ เป็นต้น
ในอนาคตการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับด้านนี้ น่าจะค้นพบอะไรอีกมากมายที่นำไปสู่การอธิบายถึง คุณสมบัติของกัญชาที่รักษาโรคได้ รวมทั้ง การป้องกันอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
สรุป ในตัวรับของกัญชา ยังมีตำแหน่งของการจับที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อผลลัพธิ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ว่า กัญชาไปจับกับตัวรับ แล้วก็จบอย่างที่เราเข้าใจกัน
ในตัวรับของกัญชา กัญชง ยังมีตำแหน่งที่จับแตกต่างกัน ผลก็จะต่างกันด้วย
อ้างอิงบางส่วนจาก
Dual role of the second extracellular loop of the cannabinoid receptor 1: ligand binding and receptor localization. Mol Pharmacol.2009 : 76(4): 833-842.
Allosteric modulator ORG27569 induces CB1 cannabinoid receptor high affinity agonist binding state, receptor internalization, and Gi protein-independent ERK1/2 kinase activation. J Biol Chem : 2012:287(15): 12070-12082.
Membrane assembly of the cannabinoid receptor 1: impact of a long N-terminal tail. Mol Pharmacol.2003: 64(3): 570-577.
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี