เซลล์มะเร็ง กับ เซลล์ร่างกายมนุษย์เป็นของคู่กันมาช้านาน เพราะว่า ถือเป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกายคนเราที่จะมีความผิดปกติเกิดขึ้น เพราะในแต่ละวันเซลล์ร่างกายของมนุษย์จะมีการแบ่งเซลล์อยู่ตลอดเวลา มากน้อยขึ้นกับอวัยวะแต่ละอวัยวะที่จะมีรอบเวลาของการแบ่งเซลล์ไม่เหมือนกัน
ซึ่งอวัยวะที่เซลล์มีการแบ่งตัวเร็วกว่าหรือมากกว่า ก็มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดในระหว่างการแบ่งเซลล์ในขั้นตอนต่างๆในกระบวนการที่เราเรียกว่า วัฎจักของเซลล์ (Cell cycle) โดยทุกจุดหรือทุกขั้นตอนในวัฎจักรของเซลล์ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การเกิดเซลล์ที่ผิดปกติ และนำไปสู่ เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้ ตามภาพประกอบ
ปัจจุบันพบว่า การแบ่งเซลล์ในวัฎจักรของเซลล์นั้น มีการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องในทุกๆขั้นตอนของการแบ่งเซลล์ ตั้งแต่การเตรียมสารสำคัญในระดับยีนหรือดีเอ็นเอ การแบ่งเซลล์ในระยะต่างๆ จนถึงการแบ่งเซลล์สำเร็จ นั่นจึงแสดงให้เห็นว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มีส่วนรับผิดชอบหรือควบคุมเซลล์ ว่า จะมีการก่อให้เกิดเซลล์ที่ผิดปกติ จนนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งหรือไม่ นั่นเอง
และในกระบวนการควบคุมการแบ่งเซลล์ในจักรของเซลล์นั้น มีกลไกหรือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า Programmed cell Death ไว้คอยควบคุมหรือคอยทำลายเซลล์ของร่างกาย ทั้งเซลล์ที่หมดอายุขัย หรือ เซลล์ที่ผิดปกติ
รู้หรือไม่ว่า ในคนที่โตเต็มที่จะมีเซลล์ตายวันละประมาณ 10 ล้านล้าน (billion) เซลล์ ซึ่งจะสมดุลกับเซลล์ที่สร้างขึ้นใหม่ในแต่ละวัน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์
Apoptosis (เซลล์สั่งตาย)
เป็นหนึ่งในกระบวนการตายของเซลล์ที่เรียกว่า Programmed cell death ชนิดหนึ่งที่เป็นการตายที่เซลล์เป็นผู้กำหนด และมีขั้นตอนอย่างชัดเจน ในบางครั้งจึงถูกเรียกว่า cell committed suicide หรือ จะเรียกว่า การฆ่าตัวตายเองโดยมีการวางแผนไว้แล้ว นั่นเอง
ฉะนั้น ทั้งเซลล์ปกติ หรือ เซลล์ผิดปกติ ล้วนต้องมีโปรแกรมเหล่านี้คอยจัดการตามระยะเวลาโอกาสที่มีการตั้งโปรแกรมไว้ นั่นเอง เพราะเซลล์เหล่านี้ล้วนมีอายุขัยของมันเอง นั่นเอง
แต่สำหรับเซลล์ที่ผิดปกติ จนนำไปสู่เซลล์มะเร็งนั้น เราพบว่า โปรแกรมการตายแบบ Apoptosis มันไม่ค่อยทำงาน หรือ ถูกมะเร็งจัดการโปรแกรมไม่ให้สามารถสั่งให้พวกมันตายได้ จึงทำให้พวกมัน ถึงแม้จะมีโปรแกรมเหล่านี้ติดตั้งอยู่ แต่ก็ถูกเซลล์มะเร็งตั้งโปรแกรมใหม่ ไม่ให้ทำงานได้
เซลล์มะเร็งจึงสามารถมีชีวิตอยู่อย่างยาวนาน ไม่ถูกทำลายง่ายๆด้วยกลไกตามธรรมชาติ
แต่ปัญหาที่ว่า จะถูกจัดการได้ด้วยกัญชา กัญชง ด้วยสารไฟโตแคนนาบินอยด์
สารแคนนาบินอยด์ ปัจจุบันมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ 1. สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นเองได้ 2. สารแคนนาบินอยด์สังเคราะห์ 3. สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง ตามรูปภาพประกอบ ด้านล่าง
มีรายงานการศึกษาว่า สารแคนนาบินอยด์ทั้ง 3 กลุ่ม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นโปรแกรมแห่งความตายของเซลล์มะเร็งได้ ผ่านการส่งสัญญาณมรณะในขั้นตอนต่างๆ จนทำให้โปรแกรมแห่งความตาย ที่เรียกว่า Apoptosis ในเซลล์มะเร็งกลับมาทำให้เซลล์มะเร็งตายได้มากขึ้นอีกครั้ง
สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง ก็เป็นหนึ่งในสารแคนนาบินอยด์ ที่สามารถส่งสัญญาณมรณะไปปลุกโปรแกรมแห่งความตาย เพื่อกลับมาฆ่าเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน
จากรูปภาพประกอบด้านล่าง จะพบว่า สารแคนนาบินอยด์ทั้งในรูปแบบสังเคราะห์ หรือ ที่มาจากสารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง สามารถออกฤทธิ์ผ่านกลไกต่างๆ เพื่อนำไปสู่โปรแกรมแห่งความตาย ชนิดที่เรียกว่า Apoptosis ได้
สัญญาณมรณะแห่งโปรแกรมความตาย ถูกสั่งได้ด้วย กัญชา กัญชง
การออกฤทธิ์ของสารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง ในการเข้าไปกระตุ้นหรือส่งสัญญาณมรณะเพื่อปลุกโปรแกรมแห่งความตายที่มีการติดตั้งในเซลล์มะเร็งนั้นให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพใหม่นั้น จะเป็นไปในลักษณะดังภาพประกอบข้างล่าง
ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณเป็นทอดๆไป จนสุดท้ายแล้วนำไปสู่การกลับมาทำงานอีกครั้งของโปรแกรมแห่งความตาย ที่มีการติดตั้งไว้ตั้งแต่ต้นในวัฎจักของเซลล์
นอกจากการทำให้โปรแกรมแห่งความตายกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งแล้ว สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง ยังสามารถจัดการกระบวนการสร้างเส้นเลือดของเซลล์มะเร็งได้
เส้นเลือดที่มะเร็งสร้างขึ้นมา เปรียบเสมือนท่อลำเลียงอาหาร ถ้าตัดท่อน้ำเลี้ยงนี้ได้ ก็เท่ากับ เสบียงอาหารของมะเร็งได้
จากภาพประกอบด้านล่าง จะเห็นว่า สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ เมื่อจับกับตัวรับ หรือ Receptor แล้ว สามารถทำให้กลไกการสร้างเส้นเลือดของเซลล์มะเร็งลดลงได้ เป็นผลให้เซลล์มะเร็งไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตต่อไป นั่นเอง
สุดท้ายเซลล์มะเร็งก็ลดลง เพราะบางส่วนขาดสารอาหาร
ฉะนั้น สารไฟโตแคนาบินอยด์ ทั้งจากกัญชา และกัญชง จึงสามารถทำให้โปรแกรมแห่งความตายของเซลล์มะเร็งสามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง นำไปสู่การทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายได้มากขึ้น
กัญชา กัญชง เปิดโปรแกรมความตายให้มะเร็งได้อีกครั้ง
อ้างอิงบางส่วนจาก
The current state and future perspectives of cannabinoids in cancer biology. Cancer Medicine 2018; 7(3):765–775.
Cannabinoids for Cancer Treatment: Progress and Promise. Cancer Res 2008; 68: (2). January 15, 2008.
Antitumor Cannabinoid Chemotypes: Structural Insights. Front. Pharmacol. 2019 : 10:621.
The onus of cannabinoids in interrupting the molecular odyssey of breast cancer: A critical perspective on UPRERand beyond. Saudi Pharmaceutical Journal 27 (2019) 437–445.
Opportunities for cannabis in supportive care in cancer. Ther Adv Med Oncol 2019, Vol. 11: 1–29.
Inhibition of tumor angiogenesis by cannabinoids. FASEB J. (January 2, 2003) 10.1096/fj.02-0795fje
Cannabinoid-induced apoptosis in immune cells as a pathway to immunosuppression. Immunobiology. 2010 Aug; 215(8): 598–605.
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี