ในปัจจุบันพบว่า การเกิดมะเร็งนั้น เซลล์มะเร็งไม่สามารถเกิดและเติบโต พร้อมกับการขยายเผาพันธุ์ของพวกมันได้ โดยปราศจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม (Tumor microenvironment) หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ
มะเร็งมันโตด้วยตัวมันเองไม่ได้ มันต้องมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม มีอาหาร มีสารเร่งโต มีเกราะกำบัง เปรียบเสมือน ต้นไม้นั่นละ จะโตแบบสวยงาม ดินก็ต้องดี น้ำก็ต้องพอ ปุ๋ย และ แสงแดด ก็ต้องมีความเหมาะสม มะเร็งก็เช่นกัน จากภาพประกอบจะเห็นว่า สิ่งแวดล้อมของเหล่ามะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายคนเรานั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆมากมาย
โดยปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะมาทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย แต่สำหรับมะเร็งแล้ว
มะเร็งสามารถปล่อยสารบางชนิด เพื่อกล่อมให้เม็ดเลือดขาว ชนิด แมคโครฟาจ ที่ปกติ ให้ย้ายฝัง และกลายพันธุ์มาช่วยให้มะเร็งเติบโตและขยายเผาพันธุ์ได้
เม็ดเลือดขาว ชนิด แมคโครฟาจ ที่ถูกมะเร็งกล่อมจนกลายพันธุ์เหล่านี้ จะถูกเรียกว่า Tumor associated Macrophages หรือเรียกสั้นๆว่า TAMs หรือจะเรียกว่า M2 ก็ได้
ซึ่ง Macrophages ที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อมะเร็งจะถูกกระตุ้น ด้วยสัญญาณที่เซลล์มะเร็งหลั่งออกมา เช่น IL-4 และ IL-10 แล้วทำให้ normal macrophages (M1) หรือ เซลล์แมคโครฟาจที่ปกติ เปลี่ยนเป็น tumor-associated macrophages (TAMs หรือ M2) ตามภาพประกอบด้านล่าง ซึ่ง เซลล์สองแบบนี้มีความแตกต่างกัน
โดยเซลล์แมคโครฟาจ M2 ก็คือ เซลล์ที่คอยเอื้ออำนวยให้เซลล์มะเร็งมีการเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างมากมาย นั่นเอง
และงานศึกษาวิจัยยังพบว่า เซลล์มะเร็งมันมีความสามารถในการจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวพวกมันได้ เพื่อรองรับการเติบโตและขยายเผาพันธุ์
และการค้นพบ M2 นี้ ถือว่า เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการคิดค้นยาหรือวิธีการกำจัดมะเร็ง ซึ่งก็คือ การยับยั้งการกลายพันธุ์ของเม็ดเลือดขาว ชนิด แมคโครฟาจ (Macrophage) นั่นเอง
หน้าที่ของพวก TAMs ที่ทำให้มะเร็งเติบโตและขยายเผาพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว คือ
พวกมันสร้าง Growth factor ต่างๆ เช่น EGF ตามภาพประกอบ หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ผลิตปุ๋ยชั้นดีสูตรต่างๆให้มะเร็งนำไปบำรุงพวกมัน
นอกจากนั้นยังผลิตเอนไซม์ MMPs หรือ Matrix metalloproteinases เพื่อใช้ในการย่อยสลายเซลล์ปกติ แล้วทำการรุกราน หรือก็คือ อาวุธที่มะเร็งใช้ในการรุกรานและขยายอาณาจักร นั่นเอง
ฉะนั้น จะเห็นว่า มะเร็งใช้งานเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ย้ายค่ายหรือกลายพันธุ์ ที่ได้ฉายาในวงการว่า TAMs เหล่านี้ เป็นเครื่องมือในการสร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ตามแผนยึดครองร่างกายของมนุษย์
ปัจจุบันพบว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชาและกัญชง สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิด แมคโครฟาจ ได้ หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ
กัญชา ไม่ให้สิทธิ์ย้ายข้างแก่พวกเม็ดเลือดขาว ทำให้มะเร็งไม่สามารเติบโตและขยายขอบเขตได้ไวหรือมากมายอย่างที่พวกมันคิด นั่นเอง
หนึ่งในงานวิจัยที่มีการค้นพบว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ สามารถทำลายสิ่งแวดล้อมของพวกมะเร็งไม่ให้เอื้อต่อการเจริญเตอบดตของพวกมันก็คือ
การค้นพบว่า สาร CBD ทั้งในกัญชา หรือ กัญชง สามารถเข้าจัดการหรือขัดขวางสัญญานของเซลล์มะเร็งไม่ให้เปลี่ยนเซลล์แมคโครฟาจปกติ หรือ M1 ไปเป็นเซลล์แมคโครฟาจที่ผิดปกติ ซึ่งก็คือ M2 นั่นเอง ตามภาพประกอบด้านล่าง
วิธีนี้จึงเป็นหนึ่งในแนวทางในการจำกัดการสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะไปเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับมะเร็ง ไม่ให้มีปุ๋ย ไม่ให้มีอาวุธ เพื่อนำไปทำลายร่างกาย
ฉะนั้น การจะเอาชนะมะเร็ง ต้องเข้าใจพวกมันให้มากที่สุด และใช้หลากหลายวิธีร่วมกัน ไม่ควรยึดแค่ทางใดทางหนึ่ง เพราะยังไม่มีการแพทย์ฝั่งไหนที่เข้าใจมะเร็งได้อย่างถ่องแท้
กัญชา กัญชง สามารถทำลายระบบนิเวศของการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
อ้างอิงบางส่วนจาก
Tumor-associated macrophages induce the expression of FOXQ1 to promote epithelial-mesenchymal transition and metastasis in gastric cancer cells. Oncol Rep. 2017 Oct; 38(4): 2003–2010.
New Mechanisms of Tumor-Associated Macrophages on Promoting Tumor Progression: Recent Research Advances and Potential Targets for Tumor Immunotherapy. J Immunol Res. 2016; 2016: 9720912.
Tumor-associated macrophages in breast cancer. J Mammary Gland Biol Neoplasia 2002;7:177-89.
Redirecting tumor-associated macrophages to become tumoricidal effectors as a novel strategy for cancer therapy. Oncotarget, 2017, Vol. 8, (No. 29), pp: 48436-48452.
Myeloid Cells in the Tumor Microenvironment: Modulation of Tumor Angiogenesis and Tumor Inflammation. Journal of Oncology Volume 2010, Article ID 201026, 10 pages doi:10.1155/2010/201026.
Tumor-associated macrophages in tumor metastasis: biological roles and clinical therapeutic applications. Journal of Hematology & Oncology (2019) 12:76.
Modulation of the tumor microenvironment and inhibition of EGF/EGFR pathway: Novel anti-tumor mechanisms of Cannabidiol in breast cancer. MOLECULAR ONCOLOGY 9 (2015) 906 – 919.
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี