ตัวรับ Transient Receptor Potential หรือ TRP เป็นอีกหนึ่งตัวรับ ที่อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ แบบเดียวกับที่ตัวรับ CB1 และ CB2 ตั้งอยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตัวรับชนิดนี้จัดเป็นตัวรับแบบ “ionotropic cannabinoid receptor” หรือเข้าใจง่ายๆ คือ ตัวรับเหล่านี้มีลักษณะเป็นรูปทรงท่อๆ เพื่อให้สารชนิดต่างๆเดินทางเข้าออกหรือมาจับเพื่อทำการออกฤทธิ์
จากภาพประกอบด้านล่างจะเห็นชัดเจนขึ้นว่า ตัวรับในตระกูล TRP นี้ จะมีลักษณะเป็นท่อๆ หรือ รูๆ ซึ่งจะแตกต่างจากลักษณะของตัวรับ CB1 และ CB2 ถึงแม้จะมีที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน ซึ่งก็คือ บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ ก็ตาม
จากภาพประกอบด้านล่างแสดงให้เห็นว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง สามารถออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ TRP ได้หลากหลายชนิด และเป็นทั้งการออกฤทธิ์แบบกระตุ้น (Agonist) และ การออกฤทธิ์แบบยับยั้ง (Antagonist)
ซึ่งตัวรับเหล่านี้ มีชนิดแยกย่อยลงไปอีกที่พบถึงความสัมพันธ์ในกลไกการเกิดและเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ เช่น ตัวรับ TRPV1 , TRPV2 , TRPV3 , TRPV4 , TRPA1 และ TRPM8
โดยตัวรับชนิด TRPV1 เป็นตัวรับในกลุ่มนี้ที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวข้องกับมะเร็งมากขึ้นมากกว่าชนิดอื่นๆ
โดยพบว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ และ สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ จากกัญชา หรือ กัญชง เมื่อจับกับตัวรับเหล่านี้ สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งยังสามารถยับยั้งการรุกรานและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
จากรูปภาพประกอบ จะเห็นว่า สาร CBD จากกัญชา หรือ กัญชง สามารถเข้าจับที่ตัวรับในตัวตระกูล TRP ได้มากกว่า 1 ตัวรับ เป็นผลให้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ตามภาพประกอบด้านล่าง
กัญชา กัญชง ปิดช่องทางสื่อสารของเซลล์มะเร็งทุกช่องทางทำให้สื่อสารกันไม่ได้
จากภาพประกอบด้านล่างจะเห็นว่า นอกจากสารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา หรือ กัญชง จะออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งตายผ่านตัวรับหลัก ซึ่งก็คือ ตัวรับ CB1 และ CB2 แล้ว
ยังออกฤทธิ์ผ่านตัวรับในตระกูล TRP แล้วนำไปสู่การทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อตายผ่านโปรแกรมแห่งความตายทั้งในรูปแบบ Apoptosis และ Autophagy
TRP คือ อีกหนึ่งกลุ่มตัวรับที่กัญชา กัญชง สามารถเข้าไปออกฤทธิ์ผ่าน แล้วส่งสัญญาณมรณะไปฆ่าเซลล์มะเร็งได้
ไม่พลาดทุกรายละเอียด เรื่องกัญชา กัญชง กับฤทธิ์การฆ่าเซลล์มะเร็ง ได้ที่หนังสือเล่มนี้ครับ สั่งได้
อ้างอิงบางส่วนจาก
Preclinical and Clinical Assessment of Cannabinoids as Anti-Cancer Agents. Front. Pharmacol. 7:361. doi: 10.3389/fphar.2016.00361
Cannabinoids as an Anticancer Agent for Prostate Cancer. J Urol Res 4(3): 1090. 2017.
Cannabinoids for Cancer Treatment: Progress and Promise. Cancer Res 2008; 68: (2). January 15, 2008.
Exploiting Cannabinoid-Induced Cytotoxic Autophagy to Drive Melanoma Cell Death. Journal of Investigative Dermatology (2015) 135, 1629–1637.
Endocannabinoids in endocrine and related tumours. Endocrine-Related Cancer (2008) 15 391–408.
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี