จริงหรือไม่ !!!! ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statin ลดระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายได้


ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statin ลดระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกาย

ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ตามแนวทางการรักษาทางการแพทย์ปัจจุบันstatin-use-and-coq10-level

จะพบว่า ยาที่โรงพยาบาลนิยมจ่ายให้ผู้ป่วย คือ ยาในกลุ่มที่มีชื่อลงท้ายว่า Statin (อ่านว่า สแตติน)

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชน ส่วนใหญ่ ก็จะจ่ายกลุ่มนี้ให้กับผู้ป่วย แต่ตัวยาอาจแตกต่างกันไปบ้าง เพราะยาในกลุ่มนี้มีหลายตัว เช่น Simvastatin, Atorvastatin และ Lovastatin เป็นต้น

แล้วเกี่ยวอะไรกับ ระดับโคเอนไซม์ คิว 10

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับโคเอนไซม์ คิว 10 ก่อน ดังนี้

โคเอนไซม์ คิว 10 คือ สารที่เป็นตัวให้เกิดกระบวนการทำงานต่างๆในร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างปกติ โดยเฉพาะในไมโตคอนเดรีย ซึ่ง%e0%b8%aa%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99โคเอนไซม์ คิว 10 เปรียบเสมือน ตัวจุดพลัง ให้กับร่างกาย หรือ ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ โคเอนไซม์ คิว 10 เปรียบเสมือน ไม้ขีดไฟ ที่ไปคอยจุดไขมันหรือแหล่งพลังงานอื่นๆในร่างกาย ให้เกิดการเผาผลาญกลายเป็นพลังงานนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่า จะหายใจ จะเดิน จะวิ่ง จะทำงาน เป็นต้น

จุดที่เกี่ยวข้องกัน คือ

 

ยาในกลุ่ม Statin นอกจากจะไปยับยั้งการสร้างไขมันขึ้นมาในร่างกายแล้ว ยังไปยับยั้งการสังเคราะห์โคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายขึ้นมาด้วย ดังรูปภาพข้างล่าง

%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%8b%e0%b8%a1%e0%b9%8c

จึงทำให้มีการพบว่า การใช้ยาลดไขมันในกลุ่มนี้ ทำให้ระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายผู้ป่วยลดลงได้

 

 

การที่ยาในกลุ่ม Statin ทำให้ระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายลดลง มีความสำคัญอย่างไร

          ปัจจุบันมีความกังวลว่า การที่ผลข้างเคียงจากยาในกลุ่มนี้ ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบนั้น อาจมีความสัมพันธ์กับการที่มีระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ลดลงในกล้ามเนื้อ จึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบขึ้นได้ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกด้วยการ ปวดเนื้อปวดตัว เป็นต้น

            ซึ่งจากการศึกษา และ วิจัยนั้นพบว่า มีทั้งการศึกษาที่พบว่า การที่ผู้ป่วยได้รับโคเอนไซม์ คิว 10 ทดแทนในรูปแบบอาหารเสริมนั้น ช่วยเพิ่มระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายได้

%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89

และจากการที่โคเอนไซม์ คิว 10 เพิ่มขึ้น มีทั้งทำให้อาการปวดเมื้อกล้ามเนื้อในผู้ป่วย มีทั้งดีขึ้นและไม่ดีขึ้น

 

ฉะนั้น สิ่งที่ยอมรับตรงกัน คือ ยาในกลุ่ม Statin ทำให้ระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ลดลงได้ แต่จะสัมพันธ์กับอาการข้างเคียงกล้ามเนื้ออักเสบหรือไม่ ยังไม่ได้ข้อสรุปทางการแพทย์

แต่จากความคิดเห็นส่วนตัว เนื่องจากโคเอนไซม์ คิว 10 มีบทบาทและหน้าที่ต่อกระบวนการในร่างกายมากมาย การที่โคเอนไซม์ คิว 10 ลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายแน่นอน เพียงแต่ผลกระทบนั้น เรายังไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่นอน ซึ่งในอนาคตอาจมีการศึกษาวิจัยพบกับผลกระทบนั้นๆได้

 

ผู้ป่วยที่ได้รับยา Statin อยู่แล้ว ต้องได้รับการเสริมด้วยโคเอนไซม์ คิว 10 ไหม

 

จากการข้อมูลในการศึกษาปัจจุบัน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้ ตามแนวทางการแพทย์

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%8b%e0%b8%a1%e0%b9%8c-%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%a7-10-%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%b2ไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมโคเอนไซม์ คิว 10 เสริมทุกคน ถึงแม้ว่า ในการศึกษาจะบอกว่า การรับประทานเสริมช่วยเพิ่มระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายให้เพิ่มขึ้นได้

 

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอายุมาก (โคเอนไซม์ คิว 10 ลดลงตามอายุที่มากขึ้น ยิ่งอายุมาก โคเอนไซม์ คิว 10 ยิ่งลดลง) การเลือกเสริมด้วยโคเอนไซม์ คิว 10 น่าจะเหมาะสม แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนทุกครั้ง

(การรับประทานโคเอนไซม์ คิว 10 ร่วมกับยาในกลุ่ม Statin จากการศึกษาวิจัย พบว่า ใช้ร่วมกันได้)

 

สรุปก็คือ

ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statin ลดระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกายได้ โดยผ่านกลไกสังเคราะห์เดียวกันกับการสังเคราะห์ไขมันในร่างกาย

 

ข้อมูลจาก

Coenzyme Q10 and Statin-Induced Mitochondrial Dysfunction

The Role of Coenzyme Q10 in Statin-Associated Myopathy A Systematic Review

The clinical use of HMG CoA-reductase inhibitors (statins) and the associated depletion of the essential co-factor coenzyme Qlo; a review of pertinent human and animal data.

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี