มะระ (Momordica charantia) หรือที่รู้จักในชื่อ มะระขี้นก ถูกนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพและเป็นอาหารมาอย่างยาวนาน และมีสรรพคุณทางยาและประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นภาพรวมที่ครอบคลุมของกลไกที่มะระขี้นกมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยเน้นที่กลไกการออกฤทธิ์ต่างๆ เช่น การกระตุ้นอินซูลิน การหลั่งอินซูลิน การดูดซึมกลูโคส และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระบวนการสร้างและเผาผลาญพลังงานในร่างกายหรือโรคทางเมตาบอลิซึม ที่มีความเรื้อรังเกิดขึ้น โดยจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องในการหลั่งอินซูลิน การทำงานของอินซูลิน หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มีความเกี่ยวข้องกับการดื้อต่ออินซูลินและการขาดอินซูลินเกิดขึ้นในร่างกาย มะระซึ่งเป็นส่วนประกอบอาหารที่ได้รับความนิยมในอาหารเอเชียและแอฟริกา ได้รับการศึกษาวิจัยมาอย่างยาวนาน ถึงคุณสมบัติในการต้านเบาหวาน ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ต่างๆต่อไปนี้ ที่มะระจะช่วยในการจัดการควบคุมน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
1. Active constituents in bitter gourd
มะระขี้นกมีสารออกฤทธิ์ทางยาหลายชนิดที่มีคุณสมบัติต้านเบาหวาน ได้แก่ สารชาแรนติน ไวซีน และโพลีเปปไทด์พี ซึ่งสารประกอบเหล่านี้ได้รับการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดผ่านกลไกต่างๆ เช่น เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ส่งเสริมการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย และยับยั้งการสร้างกลูโคสของเซลล์ตับ เป็นต้น
2. Insulin sensitization
มะระขี้นกพบว่าช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน ผลกระทบนี้เกิดขึ้นได้จากการออฤทธิ์กระตุ้นแกมมา peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) ซึ่งเป็นตัวรับในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเผาผลาญกลูโคสและไขมัน โดยการกระตุ้นตัวรับ PPAR แกมมา ทำให้มะระขี้นกสามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมและการใช้กลูโคสได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. Insulin secretion
สารออกฤทธิ์ในมะระได้รับการพิสูจน์แล้วว่ากระตุ้นการหลั่งอินซูลินในเบต้าเซลล์ของตับอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Charantin และ polypeptide-p ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถกระตุ้นการปลดปล่อยอินซูลิน โดยผ่านช่องทางต่างๆในร่างกาย
4. Glucose uptake and utilization
มะระขี้นกมีรายงานว่าส่งเสริมการดูดซึมกลูโคสในเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อโครงและเนื้อเยื่อไขมัน โดยการกระตุ้นการออกฤทธิ์ผ่านช่องทางกลูโคสทรานสปอร์ตชนิดที่ 4 (GLUT4) ไปยังเยื่อหุ้มเซลล์ จึงช่วยให้กลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ มะระขี้นกยังช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากเซลล์ตับ ทำให้นำน้ำตาลไปใช้ให้มากขึ้น
5. Inhibition of glucose absorption and production
มะระขี้นกมีบทบาทในการยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในลำไส้โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟ่า-กลูโคซิเดส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการสลายคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคส ส่งผลให้ระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ มะระขี้นกยังมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสในตับ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกลูโคสจากแหล่งที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต โดยลดการควบคุมเอนไซม์กลูโคโนเจนิก จึงทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้ นั่นเอง